แผนที่และองค์ประกอบแผนที่
ลักษณะทั่วไปของแผนที่มาตราฐานทุกชนิดที่จัดทำขึ้นมานั้น แม้จะมีลักษณะรายละเอียดที่ปรากฎในส่วนที่เป็นแผนที่ (Map Face) และขอบระวางแผนที่แตกต่างกันไปตามชนิด และวัตถุประสงค์ของแผนที่ แต่ในทำแผนที่ทุกชนิดนั้น จะมีหลักอยู่อย่างหนึ่ง คือ การให้รายละเอียดแสดงข้อมูลสำหรับการใช้แผนที่อธิบายบริเวณที่เป็นแผนที่ ไว้บริเวณระวางของแผ่นแผนที่เสมอ ถ้าผู้ใช้มีความเข้าใจรายละเอียดประจำขอบระวางของแผนที่มาตราฐูานแล้ว ก็จะสามารถเข้าใจในแผนที่ชนิดอื่นๆได้ด้วย ยกตัวอย่างรายละเอียดประจำขอบระวางที่ควรรู้ ของแผนที่ภูมิประเทศลำดับชุด L 7017 มาตราส่วน 1:50,000 ของกรมแผนที่ทหาร ที่นิยมในงาน Remote Sensing และ GIS ใช้เป็นแผนที่ฐาน (Base Map) สำหรับการอ้างอิง
1. ชื่อชุดแผนที่และมาตราส่วน (Series Name and Map Scale) คือ THAILAND ประเทศไทย 1:5,000 จะปรากฎอยู่มุมซ้ายด้านบนของแผนที่
2. หมายเลขประจำชุด (Series Number) เป็นเลขหมายอ้างอิงที่แสดงถึงการจัดทำแผนที่ว่าเป็นที่ชุดใด จะปรากฎอยู่มุมบนขวาและล่างซ้ายของแผนที่ ซึ่งประกอบด้วยตัวอักษรและตัวเลข L 7017 มีความหมาย
L แทน Regional Area หรือ Sub-Regional Area จะใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษ L เป็นภูมิภาคที่ครอบคลุมประเทศไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย จีน ไต้หวัน เกาหลี และญี่ปุ่น
7 แทนมาตราส่วน (ระหว่าง 1:70,00 ถึง 1:35,000)
0 แทนบริเวณที่แบ่ง L เป็นภูมิภาคย่อย (Sub-Regional Area) คือบริเวณ ประเทศไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย และจีน
17 แทนเลขลำดับที่การทำชุดแผนที่ที่มีมาตราส่วนเดียวกัน และ อยู่ในพื้นที่ภูมิภาค L เดียวกัน ประเทศไทย ตรงกับลำดับชุดที่ 17
L แทน Regional Area หรือ Sub-Regional Area จะใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษ L เป็นภูมิภาคที่ครอบคลุมประเทศไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย จีน ไต้หวัน เกาหลี และญี่ปุ่น
7 แทนมาตราส่วน (ระหว่าง 1:70,00 ถึง 1:35,000)
0 แทนบริเวณที่แบ่ง L เป็นภูมิภาคย่อย (Sub-Regional Area) คือบริเวณ ประเทศไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย และจีน
17 แทนเลขลำดับที่การทำชุดแผนที่ที่มีมาตราส่วนเดียวกัน และ อยู่ในพื้นที่ภูมิภาค L เดียวกัน ประเทศไทย ตรงกับลำดับชุดที่ 17
3. ชื่อแผ่นระวาง (Sheet Name) แผนที่แต่ละฉบับจะมีชื่อระวาง ซึ่งได้มาจากรายละเอียดที่เด่นหรือที่สำคัญทางภูมิศาสตร์ หรือสิ่งทิ่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ชื่อของจังหวั ด อำเภอ
หมู่บ้านที่สำคัญ ชื่อระวางจะปรากฎอยู่ 2 แห่ง คือ กึ่งกลางระวางตอนบน และทางด้านซ้ายของขอบระวางตอนล่าง
หมู่บ้านที่สำคัญ ชื่อระวางจะปรากฎอยู่ 2 แห่ง คือ กึ่งกลางระวางตอนบน และทางด้านซ้ายของขอบระวางตอนล่าง
4. หมายเลขแผ่นระวาง (Sheet Number) แผนที่ที่แต่ละระวางจะมีหมายเลขซึ่งกำหนดขึ้นตามระบบที่วางไว้ เพื่อความสะดวกในการ อ้างอิงหรือค้นหา ตามปกติจะมีสารบัญแผนที่
(Map Index) เพื่อการค้นหาหมายเลข แผ่นระวางนี้จะแสดงไว้ที่ขอบระวางมุมขวาตอนบน และมุมซ้ายตอนล่าง.
(Map Index) เพื่อการค้นหาหมายเลข แผ่นระวางนี้จะแสดงไว้ที่ขอบระวางมุมขวาตอนบน และมุมซ้ายตอนล่าง.
5. มาตราส่วนแผนที่ (Map Scale) แสดงไว้ที่กึ่งกลางระวางตอนล่าง และมุมซ้ายตอนบน มาตราส่วนแสดงไว้เพื่อให้ทราบอัตราส่วนระหว่างระยะในแผนที่กับระยะในภูมิประเทศที่ตรงกัน จะมีหน่วยวัดที่ต่าง ๆกัน เช่น ไมล์ เมตร หลา ไมล์ทะเล
6. คำอธิบายสัญลักษณ์ (Legend) เป็นรายละเอียดที่อธิบายความหมายของสัญลักษณ์ (Symbol) ที่ใช้แสดงในแผนที่ เช่น ประเภทของเส้นถนน ซึ่งจะปรากฎที่มุมล่างด้านซ้ายของแผนที่
7. บันทึกต่าง ๆ (Note) คือ หลักฐานข้อมูลต่าง ๆ ที่ใช้ในการทำแผนที่ มีดังนี้
- ช่วงต่างเส้นชั้นความสูง 20 เมตร (Contour Interval 20 Meters) บอกให้ทราบว่าช่วงต่างระหว่างเส้นชั้นความสูงในแผนที่ระวางนี้เท่ากับ 20 เมตร กับมีเส้นชั้นแทรกชั้นละ 10 เมตร แสดงอยู่ที่ขอบระวางตอนล่าง
- ช่วงต่างเส้นชั้นความสูง 20 เมตร (Contour Interval 20 Meters) บอกให้ทราบว่าช่วงต่างระหว่างเส้นชั้นความสูงในแผนที่ระวางนี้เท่ากับ 20 เมตร กับมีเส้นชั้นแทรกชั้นละ 10 เมตร แสดงอยู่ที่ขอบระวางตอนล่าง
- บันทึกการใช้ค่ารูปทรงสัณฐาน (Spheroid) บอกให้ทราบว่าแผนที่นี้ใช้ค่าอิลิปซอยด์ (Ellipsoid) ในการทำแผนที่ ซึ่งในแต่ละภูมิภาคของโลกจะใช้ค่าคำนวณต่างกัน เช่น
ทวีปอเมริกาเหนือ ใช้ Clarke Ellipsoid ปี ค.ศ. 1866 ส่วนประเทศไทยใช้ Everest Ellipsoid จะแสดงอยู่ที่ขอบระวางใต้ช่วงต่างเส้นชั้นความสูง 20 เมตร
- กริด (Grid) เป็นระบบอ้างอิงในทางราบ มีลักษณะเป็นตารางสี่เหลี่ยมจัตุรัสมุมฉาก บอกให้ทราบว่าเส้นกริด ซึ่งเป็นเส้นตรงสีดำทิ่ลากขนานกันบนแผนที่พร้อมทั้งมีตัวเลขกำกับนั้น มีระยะห่างกัน 1,000 เมตร และเส้นกริดในระบบ UTM (Universal Transvers Mercator) แผนที่วะวางนี้อยู่ในโชนที่เท่าไหร่ (เช่น โซนที่ 47. 48) จะแสดงอยู่ที่ขอบระวางใต้สเฟียรอยด์
- เส้นโครงแผนที่ (Projection) บอกให้ทราบว่าแผนที่ L 7017 มาตราส่วน 1:50,000 เส้นโครงแผนที่ชนิดทรานสเวอร์สเมอร์เคเตอว์ (Transvers Mercator)
จะแสดงอยู่ที่ขอบระวางใต้สเฟียรอยด์
- บันทึกหลักฐานทางอ้างอิง (Datum Note) เป็นระบบหลักฐานที่ใช้อ้างอิงในการกำหนดค่าทางแนวยืนและแนวนอน เพื่อใช้เป็นจุดบังคับทางความสูงและควบคุมตำแหน่งบนแผนที่
- หลักฐานทางแนวยืน (Vertical Datum) บอกให้ทราบว่า ความสูงของภูมิประเทศในแผนที่แผ่นนี้อ้างอิง ระดับน้ำทะเลปานกลางที่เกาะหลัก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
- หลักฐานทางแนวนอน (Horizontal Datum) บอกให้ทราบว่าค่าพิกัดตามแนวนอนของแผนที่ระวางนี้ ยึดถือพิกัดของหมุดหลักฐานทางราบนั้นได้โยงยึดมาจากประเทศอินเดีย
- กำหนดจุดควบคุมโดย ( Control By) บอกให้ทราบว่าการกำหนดวางหมุดหลักฐานกระทำโดยความควบคุมของกรมแผนที่ทหาร
- สำรวจชื่อโดย (Names Data By) บอกให้ทราบว่าการสำรวจจำแนกชื่อรายละเอียดกระทำโดยกรมแผนที่ทหาร
- แผนที่นี้จัดทำและพิมพ์โดย (Prepared and Printed By) บอกให้ทราบว่าแผนที่นี้สำรวจและจัดทำโดยกรมแผนที่ทหาร
- พิมพ์เมื่อ (Date) วัน เดือน ปี ที่จัดพิมพ์
ทวีปอเมริกาเหนือ ใช้ Clarke Ellipsoid ปี ค.ศ. 1866 ส่วนประเทศไทยใช้ Everest Ellipsoid จะแสดงอยู่ที่ขอบระวางใต้ช่วงต่างเส้นชั้นความสูง 20 เมตร
- กริด (Grid) เป็นระบบอ้างอิงในทางราบ มีลักษณะเป็นตารางสี่เหลี่ยมจัตุรัสมุมฉาก บอกให้ทราบว่าเส้นกริด ซึ่งเป็นเส้นตรงสีดำทิ่ลากขนานกันบนแผนที่พร้อมทั้งมีตัวเลขกำกับนั้น มีระยะห่างกัน 1,000 เมตร และเส้นกริดในระบบ UTM (Universal Transvers Mercator) แผนที่วะวางนี้อยู่ในโชนที่เท่าไหร่ (เช่น โซนที่ 47. 48) จะแสดงอยู่ที่ขอบระวางใต้สเฟียรอยด์
- เส้นโครงแผนที่ (Projection) บอกให้ทราบว่าแผนที่ L 7017 มาตราส่วน 1:50,000 เส้นโครงแผนที่ชนิดทรานสเวอร์สเมอร์เคเตอว์ (Transvers Mercator)
จะแสดงอยู่ที่ขอบระวางใต้สเฟียรอยด์
- บันทึกหลักฐานทางอ้างอิง (Datum Note) เป็นระบบหลักฐานที่ใช้อ้างอิงในการกำหนดค่าทางแนวยืนและแนวนอน เพื่อใช้เป็นจุดบังคับทางความสูงและควบคุมตำแหน่งบนแผนที่
- หลักฐานทางแนวยืน (Vertical Datum) บอกให้ทราบว่า ความสูงของภูมิประเทศในแผนที่แผ่นนี้อ้างอิง ระดับน้ำทะเลปานกลางที่เกาะหลัก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
- หลักฐานทางแนวนอน (Horizontal Datum) บอกให้ทราบว่าค่าพิกัดตามแนวนอนของแผนที่ระวางนี้ ยึดถือพิกัดของหมุดหลักฐานทางราบนั้นได้โยงยึดมาจากประเทศอินเดีย
- กำหนดจุดควบคุมโดย ( Control By) บอกให้ทราบว่าการกำหนดวางหมุดหลักฐานกระทำโดยความควบคุมของกรมแผนที่ทหาร
- สำรวจชื่อโดย (Names Data By) บอกให้ทราบว่าการสำรวจจำแนกชื่อรายละเอียดกระทำโดยกรมแผนที่ทหาร
- แผนที่นี้จัดทำและพิมพ์โดย (Prepared and Printed By) บอกให้ทราบว่าแผนที่นี้สำรวจและจัดทำโดยกรมแผนที่ทหาร
- พิมพ์เมื่อ (Date) วัน เดือน ปี ที่จัดพิมพ์
8. แผนผังและสารบัญต่าง (Diagram and Index) ดังนี้
- แผนผังเดคลิเนชั่น หรือ มุมเยื้อง (Decclination Diagram) ปรากฎที่ขอบระวางตอนล่างแสดงความสัมพันธ์ระหว่างทิศเหนือ 3 ทิศ คือ
ทิศเหนือจริง (True North) ใช้สัญลักษณ์ คือ ดาว
ทิศเหนือกริด (Grid North) ใช้สัญลักษณ์ คือ กริด หรือ GN
ทิศเหนือแม่เหล็ก ( Magnetic North) ใช้สัญลักษณ์ คือ ครึ่งลูกศร
- แผนผังเดคลิเนชั่น หรือ มุมเยื้อง (Decclination Diagram) ปรากฎที่ขอบระวางตอนล่างแสดงความสัมพันธ์ระหว่างทิศเหนือ 3 ทิศ คือ
ทิศเหนือจริง (True North) ใช้สัญลักษณ์ คือ ดาว
ทิศเหนือกริด (Grid North) ใช้สัญลักษณ์ คือ กริด หรือ GN
ทิศเหนือแม่เหล็ก ( Magnetic North) ใช้สัญลักษณ์ คือ ครึ่งลูกศร
10. ศัพทานุกรม (Grossary) แสดงอยู่ขอบขวาตอนล่าง บอกให้ทราบว่าแผนที่นี้ ได้จัดทำขึ้น 2 ภาษา คือ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ คำบางคำจำเป็นต้องให้ทับศัพท์ ดังนั้น
เพื่อให้ผู้ใช้ได้ทราบความหมายของคำทับศัพท์นั้น จึงได้ให้ความหมายไว้ด้วย
เพื่อให้ผู้ใช้ได้ทราบความหมายของคำทับศัพท์นั้น จึงได้ให้ความหมายไว้ด้วย
11. คำแนะนำในการใช้ค่ากริด (Grid Reference Box) แสดงอยู่ที่กึ่งกลางด้านล่างของระวางบรรจุข้อความไว้เป็นกรอบสี่เหลี่ยม เป็นคำแนะนำในการหาพิกัดกริดของจุดต่างๆ
12. หมายเลขสิ่งอุปกรณ์ (Stock NO.) แสดงที่ขอบระวางด้านล่างสุดทางมุมขวา แสดงหมายเลขอุปกรณ์ ซึ่งเป็นเครื่องบ่งให้ทราบถืงชนิดของแผนที่ต่างๆ
ในระบบการส่งกำลังและเพื่อความมุ่งหมายในการเบิกแผนที่
12. หมายเลขสิ่งอุปกรณ์ (Stock NO.) แสดงที่ขอบระวางด้านล่างสุดทางมุมขวา แสดงหมายเลขอุปกรณ์ ซึ่งเป็นเครื่องบ่งให้ทราบถืงชนิดของแผนที่ต่างๆ
ในระบบการส่งกำลังและเพื่อความมุ่งหมายในการเบิกแผนที่