วันเสาร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2554

แผนที่ตัวเลข(Digital Map)

แผนที่ตัวเลข(Digital Map)
แผนที่คือ สิ่งที่แทนลักษณะของภูมิประเทศ บนพื้นผิวโลก ด้วย รูปร่าง สี สัญลักษณ์ ฉะนั้นแผนที่คือแหล่งข้อมูล หรือ ข่าวสารที่แสดงข้อมูลภูมิประเทศ ถ้าเราสามารถนำแผนที่มาออกแบบเป็นฐานข้อมูล(Database) เพื่อนำเข้าข้อมูลแผนที่ที่อยู่ในรูปกระดาษ ให้เป็นในลักษณะของตัวเลข เพื่อสามารถเรียกใช้ ในคอมพิวเตอร์ได้ ก็คือเราได้สามารถที่จะสร้าง แผนที่ตัวเลข หรือแผนที่เชิงเลขขึ้นมา หรือถ้าจะพูดเป็นภาษาทางการ แผนที่ตัวเลขก็คือ ข้อมูลแผนที่ที่ผ่านการออกแบบเป็นระบบ โดยจัดเก็บในลักษณะตัวเลขผ่านทางสื่อทางคอมพิวเตอร์เช่น CD-ROM เทป ฯลฯ เพื่อให้สามารถเรียกใช้ ให้ได้โดยผ่านทาง เครื่องคอมพิวเตอร์
โดยทั่วไปแล้วข้อมูลแผนที่ ที่จะจัดเก็บเป็นลักษณะตัวเลขประกอบด้วยข้อมูล สองลักษณะคือ  
 1.    ข้อมูลแผนที่ในส่วนที่เป็นภาพหรือ  Graphic 2. ข้อมูลแผนที่ในส่วนที่เป็นคำอธิบาย หรือ Attribute
1. ข้อมูลแผนที่ในส่วนที่เป็นภาพหรือ Graphic เก็บในลักษณะ RASTER หรือข้อมูลที่เป็นจุดภาพ   การจัดเก็บในลักษณะนี้คือการนำเอาข้อมูลแผนที่ในส่วนที่เป็นภาพ มาจัดเก็บในลักษณะจุดภาพ เปรียบเทียบเหมือนกับการนำเอาตารางกริดมาครอบตัวภาพ ส่วนไหนที่เป็นข้อมูลที่ต้องการก็ใส่ข้อมูลไปให้รู้ในรูปของเลข รหัส ดังแสดงในรูปซึ่งแสดงถึง ความสมจริงของข้อมูลขึ้นอยู่กับ จำนวนหรือ ขนาดของตารางกริด โดยอาจจะใช้คำว่า resolution แทน ขนาดของตารางกริด หรือ dot per inch แทนจำนวนของตารางกริด อุปกรณ์ในการจัดเก็บข้อมูล raster ที่เรารู้จักกันดี เช่น scanner
การจัดเก็บข้อมูลแผนที่แบบ raster ข้อดี คือ จัดเก็บได้ง่าย โครงสร้างของข้อมูลไม่ซับซ้อน แต่ข้อเสียคือต้องใช้เนื้อที่ในการจัดเก็บค่อนข้างมาก ยิ่งมี resolution ที่สูงก็จะใช้เนื้อที่ในการจัดเก็บมาก
1.2 เก็บในลักษณะ VECTOR หรือข้อมูลที่เป็นจุดพิกัด  การจัดเก็บข้อมูลแผนที่ในส่วนที่เป็นภาพแบบ vector คือการจัดเก็บในลักษณะเป็นเชิงพิกัดแบบ 2 แกน คือ X,Y หรือ 3 แกน X,Y,Z ในโครงสร้างข้อมูลแบบ จุด (POINT) เส้น (LINE) และ รูปเหลี่ยม (POLYGON)โดยที่การเก็บลักษณะแบบ จุด จะเป็นการจัดเก็บของจุดพิกัดในส่วนที่เรียกว่า NODE ส่วนการเก็บข้อมูลในโครงสร้างข้อมูลแบบ เส้น(LINE) คือการเก็บข้อมูลเชิงพิกัดในส่วนที่เรียกว่า NODE และ VERTEX โดยจะถือว่า NODE คือจุดพิกัดที่แสดงถึงส่วนที่เริ่มต้นและสิ้นสุดของเส้น ในขณะที่ VERTEX คือจุดพิกัดที่อยู่ระหว่าง NODE และสุดท้ายคือโครงสร้างการเก็บข้อมูลแบบรูปเหลี่ยม(POLYGON)ที่ประกอบด้วยโครงสร้างข้อมูลทั้งแบบจุด และเส้น โดยที่โครงสร้างข้อมูลแบบจุดจะแทนด้วยจุดศูนย์กลาง(CENTROID)ของรูปเหลี่ยม ในขณะที่โครงสร้างข้อมูลแบบเส้นแทนด้วยเส้นรอบรูปที่ล้อมรอบจุดศูนย์กลาง(CENTROID)ของรูปเหลี่ยม ดังแสดงในรูป 1.2 ที่แสดงโครงสร้างข้อมูลของจุด (POINT) เส้น(LINE) และ รูปเหลี่ยม(POLYGON)

อุปกรณ์ที่ใช้จัดเก็บข้อมูลแบบ VECTOR ที่เรารู้จักกันดีได้แก่ digitizer ข้อดีของการจัดเก็บข้อมูลแบบ VECTOR คือ ใช้เนื้อที่ในการจัดเก็บค่อนข้างน้อยกว่าแบบ RASTER แต่ข้อเสียคือการประมวลผลบนเครื่องคอมพิวเตอร์จะใช้เวลาค่อนข้างมากกว่าแบบ RASTER
2.ข้อมูลแผนที่ในส่วนที่เป็นคำอธิบาย หรือ Attribute ในการจัดเก็บข้อมูลแผนที่ในส่วนที่เป็นคำอธิบายนี้ จะใช้ได้เฉพาะ การเก็บข้อมูลแผนที่ในลักษณะของ VECTOR เท่านั้น เพราะการเก็บข้อมูลแผนที่ในส่วนของภาพแบบ VECTOR สามารถที่จะเชื่อมข้อมูลในส่วนที่เป็นข้อมูลที่เป็นตัวอักษร ที่จัดเก็บในลักษณะของ ฐานข้อมูล(DATABASE) เพราะการจัดเก็บข้อมูลแผนที่ในส่วนของภาพแบบ VECTOR คือการจัดเก็บเชิงพิกัด หรือการจัดเก็บที่มีลักษณะเป็น ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์(Relational Database) นั้นคือ ทำให้สามารถที่จะเชื่อมต่อระหว่าง ข้อมูลที่เป็นพิกัดของจุดภาพกับฐานข้อมูลที่เป็นตัวอักษรที่จัดเก็บใน โปรแกรมฐานข้อมูลเช่น Dbase หรือ Oracle ได้โดยผ่านทาง ข้อมูลที่มีข้อมูลร่วมกันเช่น หมายเลขประจำตัว(ID) ของแต่ละชุดของข้อมูลดังแสดงในรูป 1.3

ในส่วนของการเก็บข้อมูลแผนที่ในส่วนของภาพแบบ RASTER เนื่องจากไม่สามารถเชื่อมต่อข้อมูลในส่วนของภาพเข้ากับข้อมูลในส่วนที่เป็นตัวอักษรเนื่องจากข้อจำกัดในส่วนของโครงสร้างข้อมูลแบบ RASTER แต่การเก็บข้อมูลแบบ RASTER ก็สามารถจะใช้ข้อมูลเชิงระหัส เป็นตัวแทนอธิบายความแตกต่างระหว่างกลุ่มของข้อมูลในตัวมันเอง ฉะนั้นเราอาจเรียกการเก็บข้อมูลแผนที่ในส่วนของภาพแบบ RASTER ว่า เป็น การเก็บข้อมูลแบบ one-field attribute เพราะใช้เลขระหัสแสดงความแตกต่างของข้อมูล ดังแสดงไว้ที่รูป 1.4

ในแผนที่ในรูปแบบกระดาษโดยทั่วไปวิธีที่จะแสดงความแตกต่างกันระหว่าง วัตถุที่มีรูปแบบ(Feature)เหมือนกันก็คือ สี และขนาด เช่น ถนนที่เป็นถนนสายหลัก ก็จะมีสี ที่มีลักษณะเด่นชัด เช่น สีแดง แตกต่างกับถนนที่เป็นถนนที่ไม่ใช่ถนนสายหลัก ก็คือ ถนนเหล่านั้นอาจเป็นสีแดงเช่นเดียวกันแต่ ขนาดอาจจะเล็กกว่า ถนนที่เป็นถนนสายหลัก แต่การจัดเก็บของแผนที่ตัวเลขถนนทั้งสองจะไม่มีลักษณะแตกต่างกันในด้านของภาพในส่วนของ VECTOR แต่ข้อมูลทั้งสองมีความแตกต่างกันกันที่ ข้อมูลที่จัดเก็บในส่วนของคำอธิบายหรือ Attribute ในส่วนของฐานข้อมูลตัวอักษร ดังแสดงไว้ที่รูป 1.5

วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2554

DBMS ระบบฐานข้อมูล


DBMS หรือ System  คือโปรแกรมที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางหว่างผู้ใช้(user)กับฐานข้อมูลเพื่อจัดการและควบคุมความถูกต้อง ความซ้ำซ้อน และความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลต่างๆ ภายใน  ฐานข้อมูล  ซึ่งต่างไปจากระบบแฟ้มข้อมูลคือหน้าที่เหล่านี้จะเป็นของโปรแกรมเมอร์ ในการต่อฐานข้อมูลไม่ว่าจะด้วยการใช้คำสั่งในกลุ่มDML    หรือ DDLหรือจะด้วยโปรแกรมต่าง ๆ ทุกคำสั่งที่    ใช้กระทำกับฐานข้อมูลจะถูกโปรแกรม DBMSนำแปล (Compile) เป็นการกระทำ (Operation) ต่างๆ    ภายใต้คำสั่งนั้นๆ เพื่อนำไปกระทำกับตัวข้อมูลในฐานข้อมูลต่อไป
การทำงานต่าง ๆ ภายในโปรแกรม DBMS ที่ทำหน้าที่ในการแปลคำสั่งไปเป็นการกระทำต่าง ๆ           
Data Manager เป็นส่วน  ที่ทำหน้าที่กำหนดการกระทำต่างๆให้กับส่วน  File Manager  เพื่อไป กระทำกับข้อมูลที่เก็บอยู่ในฐานข้อ มูลในระดับกายภาพ (Physical)
Query Processor เป็นส่วน ที่ทำหน้าที่ทำหน้าที่แปลงประโยคให้อยู่ในรูปแบบของคำสั่งที่ Database Manager เข้าใจ
Database Manipulation Language Precomplier เป็นส่วนที่ทำหน้าที่แปล (Compile) ประโยคของคำสั่งของกลุ่มคำสั่ง(DML) ให้อยู่ในรูปแบบที่ส่วน Application Programs Object Code จำนำไปเข้ารหัสเพื่อส่งต่อไปยังส่วน Database Manager ในการแปลประโยคคำสั่งของกลุ่มคำสั่ง DML ของส่วน Data Manipulation Langua  Complier นี้จะต้องทำงานร่วมกับส่วน Query Processor
Data Definition Language Precompiler       เป็นส่วนที่ทำหน้าที่แปล (Compile) ประโยคคำสั่งของกลุ่มคำสั่ง DDL ให้อู่ในรูปของ MetaData ที่เก็บอยู่ในส่วน Data Dictionary ของฐานข้อมูล (MetaData  ได้แก่ รายละเอียดที่บอกถึงโครงสร้างต่าง ๆ ของข้อมูล
Application Program Object Code เป็นส่วนที่ทำหน้าที่แปลงคำสั่งต่าง ๆ ของโปรแกรม รวมทั้งคำสั่งในกลุ่มคำสั่ง DMLที่ส่งต่อมาจากส่วน Data Manipulation Language Procompiler ให้อยู่ในรูปของ Object Code ที่จะส่ง  ต่อไปให้ Database Manager เพื่อกระทำกับข้อมูลในฐานข้อมูล
Data Dictionary และ File Manager  ทุกฐานข้อมูลจะต้องมีส่วนที่ใช้เก็บข้อมูลในลักษณะ Meta Data ซึ่งเป็นข้อมูลของข้อมูลที่บอกถึงรายละเอียดของตัวข้อมูลที่เก็บอยู่ในฐานข้อมูล เช่น โครงสร้างของข้อมูล โครงสร้างของ Table โครงสร้างของ Index กฎที่ใช้ควบคุมความถูกต้องของข้อมูล(Integrity Rule กฎที่ใช้ในการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล (Security Rule) ฯลฯ ข้อมูลเหล่านี้จัดเป็นข้อมูลที่มีความจำเป็นต่อโปรแกรม DBMS ในการตัดสินใจที่จะดำเนินการใด ๆ กับฐานข้อมูล เช่น ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกฎที่ใช้ในการรักษาความปลอดภัยให้ข้อมูล จะถูกนำมาใช้ในการพิจารณาให้สิทธิแก่ผู้ใช้ในการใช้งานฐานข้อมูล เป็นต้น สำหรับส่วนที่ใช้จัดเก็บข้อมูลในลักษณะของ Meta Data นี้ได้แก่ Data Dictionary หรือ Catalo


DBMS ระบบฐานข้อมูล
DBMS หรือ System  คือโปรแกรมที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางหว่างผู้ใช้(user)กับฐานข้อมูลเพื่อจัดการและควบคุมความถูกต้อง ความซ้ำซ้อน และความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลต่างๆ ภายใน  ฐานข้อมูล  ซึ่งต่างไปจากระบบแฟ้มข้อมูลคือหน้าที่เหล่านี้จะเป็นของโปรแกรมเมอร์ ในการต่อฐานข้อมูลไม่ว่าจะด้วยการใช้คำสั่งในกลุ่มDML    หรือ DDLหรือจะด้วยโปรแกรมต่าง ๆ ทุกคำสั่งที่    ใช้กระทำกับฐานข้อมูลจะถูกโปรแกรม DBMSนำแปล (Compile) เป็นการกระทำ (Operation) ต่างๆ    ภายใต้คำสั่งนั้นๆ เพื่อนำไปกระทำกับตัวข้อมูลในฐานข้อมูลต่อไป
การทำงานต่าง ๆ  ภายในโปรแกรม DBMS ที่ทำหน้าที่ในการแปลคำสั่งไปเป็นการกระทำต่าง ๆคือ 
DataManager   เป็นส่วน  ที่ทำหน้าที่กำหนดการกระทำต่างๆให้กับส่วน  File Manager  เพื่อไป กระทำกับข้อมูลที่เก็บอยู่ในฐานข้อ มูลในระดับกายภาพ (Physical)
Query Processor เป็นส่วน ที่ทำหน้าที่ทำหน้าที่แปลงประโยคให้อยู่ในรูปแบบของคำสั่งที่ Database Manager
Database Manipulation Language Precomplier เป็นส่วนที่ทำหน้าที่แปล (Compile) ประโยคของคำสั่งของกลุ่มคำสั่ง(DML) ให้อยู่ในรูปแบบที่ส่วน Application Programs Object Code จำนำไปเข้ารหัสเพื่อส่งต่อไปยังส่วน Database Manager ในการแปลประโยคคำสั่งของกลุ่มคำสั่ง DML ของส่วน Data Manipulation Langua  Complier นี้จะต้องทำงานร่วมกับส่วนQueryProcessor                                                                                                        
 Data Definition Language Precompiler    เป็นส่วนที่ทำหน้าที่แปล (Compile) ประโยคคำสั่งของกลุ่มคำสั่ง DDL ให้อยู่ในรูปของ MetaData ที่เก็บอยู่ในส่วน Data Dictionary ของฐานข้อมูล (MetaData  ได้แก่ รายละเอียดที่บอกถึงโครงสร้างต่าง ๆ ของข้อมูล 
Application Program Object Code  เป็นส่วนที่ทำหน้าที่แปลงคำสั่งต่าง ๆ ของโปรแกรม รวมทั้งคำสั่งในกลุ่มคำสั่ง DMLที่ส่งต่อมาจากส่วน Data Manipulation Language Procompiler ให้อยู่ในรูปของ Object Code ที่จะส่ง  ต่อไปให้ Database Manager เพื่อกระทำกับข้อมูลในฐานข้อมูล
Data Dictionary และ File Manager   ทุกฐานข้อมูลจะต้องมีส่วนที่ใช้เก็บข้อมูลในลักษณะ Meta Data ซึ่งเป็นข้อมูลของข้อมูลที่บอกถึงรายละเอียดของตัวข้อมูลที่เก็บอยู่ในฐานข้อมูล เช่น โครงสร้างของข้อมูล โครงสร้างของ Table โครงสร้างของ Index กฎที่ใช้ควบคุมความถูกต้องของข้อมูล(Integrity Rule กฎที่ใช้ในการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล (Security Rule) ฯลฯ ข้อมูลเหล่านี้จัดเป็นข้อมูลที่มีความจำเป็นต่อโปรแกรม DBMS ในการตัดสินใจที่จะดำเนินการใด ๆ กับฐานข้อมูล เช่น ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกฎที่ใช้ในการรักษาความปลอดภัยให้ข้อมูล จะถูกนำมาใช้ในการพิจารณาให้สิทธิแก่ผู้ใช้ในการใช้งานฐานข้อมูล เป็นต้น สำหรับส่วนที่ใช้จัดเก็บข้อมูลในลักษณะของ Meta Data นี้ได้แก่ Data Dictionary หรือCatalo                                                                                                                                                                                                                               

วันพุธที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2554

Database Management System : DBMS

Database Management System : DBMS
ฐานข้อมูล (Database)  คือ การจัดเก็บข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กันมาเก็บไว้ด้วยกันเพื่อลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล อาจจะเปรียบเทียบเป็นคลังของข้อมูล โดยข้อมูลจะถูกเก็บรวมอย่างมีรูปแบบและเป็นระเบียบ ทำให้เกิดความสะดวกและง่ายในการที่จะนำเอาข้อมูลเหล่านี้ไปทำการประมวลผลและจัดการกับข้อมูล เช่น การเพิ่มข้อมูล การสร้างรายงานเกี่ยวกับข้อมูล และการแสดงผลข้อมูล เป็นต้น นอกจากนี้ยังคำนึงถึงการใช้ข้อมูลร่วมกันระหว่างงานหลาย ๆ งานเพื่อประโยชน์ในการที่เราจะเรียกใช้ข้อมูลนั้นๆ การเก็บหรือการนำออกมาใช้จะต้องกระทำผ่านทาง ระบบการจัดฐานข้อมูลหรือที่เรารู้จักกันในนาม DBMS และภาษาที่เราจะใช้ในการติดต่อกับ ฐานข้อมูลก็คือ ภาษา SQL

 ระบบจัดการฐานข้อมูล หรือ Database Management System : DBMS คือ ซอฟท์แวร์โปรแกรมหรือกลุ่มของซอฟท์แวร์โปรแกรมที่ทำหน้าที่เข้าถึงและจัดการกับข้อมูลจำนวนมากที่มีความสัมพันธ์กัน เปรียบเสมือนตัวกลางระหว่างผู้ใช้งานกับฐานข้อมูลและระบบปฏิบัติการของเครื่องคอมพิวเตอร์              
 ส่วนประกอบแวดล้อมของระบบจัดการฐานข้อมูลประกอบด้วย  5 ส่วน
1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware) เครื่องคอมพิวเตอร์และจำนวนพื้นที่สำหรับเก็บข้อมูล ซึ่งมีหลายระดับการใช้งานให้เลือกใช้ขึ้นอยู่กับลักษณะงานขององค์กรและผลิตภัณฑ์ระบบจัดการฐานข้อมูลต้องมีประสิทธิภาพในการจัดเก็บข้อมูลสูงทั้งด้านความเร็วและความจุข้อมูล ต้องมีการ ปรับปรุงอยู่เสมอ เพื่อให้การใช้งานมีประสิทธิภาพมากขึ้น
2. ซอฟต์แวร์ (Software) ประกอบด้วยฐานข้อมูล ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ซอฟท์แวร์ที่เกี่ยวกับการสื่อสารข้อมูลในกรณีที่มีการเชื่อมโยงเครือข่าย และโปรแกรมประยุกต์หรืออาจจะเป็นภาษาสืบค้นข้อมูลที่เรียกว่า Query Language ก็ได้ นอกจากนี้ยังมีเครื่องมือที่ใช้ ช่วยในการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ได้รวดเร็วในลักษณะที่เป็นวิธีทางข้อความ (Text Mode) หรือวิธีทางรูปภาพ (Graphic Mode)
3. ข้อมูล (Data) เป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่สุดสำหรับผู้ใช้งานโดยเป็นส่วนที่เชื่อมต่อระหว่างคนและระบบข้อมูลในฐานข้อมูล ทั้งตัวข้อมูลและโครงสร้างของข้อมูล นิยามโครงสร้างของฐานข้อมูล เรียกว่า Schema จะขึ้นอยู่กับตัวแบบข้อมูล (Data Model) ซึ่งโครงสร้างของ ฐานข้อมูลเหล่านี้จะถูกเก็บไว้ในพจนานุกรม (System Catalog)
4. วิธีการดำเนินงาน (Procedure) คือคำสั่งหรือกฎเกณฑ์ในการออกแบบและใช้ ฐานข้อมูลในการประมวลผล ฐานข้อมูลจะมีเอกสารที่แจกแจงรายละเอียดให้ผู้ใช้งานหรือผู้ดูแลระบบฐานข้อมูลทราบถึงขั้นตอนการดำเนินงาน
5. บุคลากร (People) แบ่งเป็น 4 ประเภทตามหน้าที่และบทบาท ได้แก่ พนักงานดูแลและบริหารข้อมูล นักออกแบบฐานข้อมูล นักออกแบบและพัฒนาโปรแกรมประยุกต์และผู้ใช้บริการฐานข้อมูล

หน้าที่ของระบบจัดการฐานข้อมูล
1. ความสามารถในการจัดเก็บข้อมูล (Data Storage) การเรียกค้น (Retrieval) และการ แก้ไขเปลี่ยนแปลง (Update) เป็นความสามารถพื้นฐานที่ระบบจัดการฐานข้อมูลทุกตัวจะต้องมี ซึ่งถึงแม้ว่าระบบจัดการฐานข้อมูลจะอำนวยความสะดวกในเรื่องนี้ แต่ก็เป็นหน้าที่ของผู้ใช้ที่จะต้องรู้ถึงโครงสร้างฐานข้อมูลและการกระทำกับฐานข้อมูลนั้นด้วย
2. ความสามารถในการเข้าถึงพจนานุกรม (Catalog) ซึ่งเป็นที่เก็บนิยามของข้อมูลบนฐานข้อมูล เป็นส่วนที่มีความสำคัญสำหรับผู้บริหารฐานข้อมูลหรือโปรแกรมเมอร์ที่จะเขียนโปรแกรมเพื่อใช้งานฐานข้อมูลนั้น
3. การสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงแก้ไขร่วมกัน (Shared Update) เป็นการเพิ่มความมั่นใจในความถูกต้องเมื่อมีผู้ใช้หลายคนต้องการเปลี่ยนแปลงแก้ไขฐานข้อมูลในเวลาเดียวกัน
4. การสำรองข้อมูล (Backup) และการกู้ข้อมูล (Recovery) เป็นการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับฐานข้อมูล โดยจะทำการสำรองฐานข้อมูลไว้และในกรณีที่เกิดความ เสียหายขึ้น ก็จะทำการกู้ข้อมูลโดยใช้ส่วนที่สำรองไว้ แต่มีข้อเสียคือ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นก่อนเกิดความเสียหายจะไม่ถูกบันทึกไว้
5. การรักษาความปลอดภัย เป็นการเพิ่มความมั่นใจว่าผู้ใช้งานที่ได้รับการอนุญาตเท่านั้นที่จะสามารถเข้าถึงฐานข้อมูลได้ ซึ่งทำได้โดยการกำหนดรหัสผ่านให้กับผู้ใช้ การเข้ารหัสข้อมูล และการกำหนดมุมมองของผู้ใช้
6. การรักษา Integrity ของข้อมูล เพื่อประโยชน์ในการสร้างเงื่อนไขให้กับข้อมูลใน ฐานข้อมูล รวมถึงกฎข้อบังคับต่างๆที่จะถูกใช้เมื่อมีความต้องการจะเปลี่ยนแปลงข้อมูลใดๆ
7. ความสามารถในการให้อิสระแก่ข้อมูล เป็นการสนับสนุนให้โปรแกรมเป็นอิสระจากโครงสร้างที่ซับซ้อนของฐานข้อมูล โดยการกำหนดโครงสร้างของฐานข้อมูลแยกออกมา ทำให้การเปลี่ยนแปลงต่างๆ กับโครงสร้างนี้จะไม่มีผลต่อโปรแกรมที่ใช้ฐานข้อมูล
8. การนำเสนอยูทิลิตี้ต่างๆ เป็นยูทิลิตี้ที่ใช้ในการบำรุงรักษาทั่วไปในฐานข้อมูล เช่น การอนุญาตให้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างของฐานข้อมูลได้ การอนุญาตให้เข้าถึงดอสได้จากในระบบจัดการฐานข้อมูล

วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
         ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ หรือ Geographic Information System (GIS) คือ ระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์หลักในการจัดการเกี่ยวกับ ข้อมูลและข่าวสาร ตั้งแต่การรวบรวมข้อมูล การจัดเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล ตลอดจนการเสนอผลการวิเคราะห์ ประเมินผลข้อมูลเชิงซ้อนทั้งหมด ให้อยู่ในรูปที่ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ด้านต่างๆ ตามต้องการ ทั้งนี้โดยอาศัยลักษณะทาง ภูมิศาสตร์เป็นตัว เชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลข่าวสารต่างๆ
         องค์ประกอบหลักของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ได้แก่ คอมพิวเตอร์ โปรแกรม และการออกแบบ ซึ่งใช้ในการเสริมสร้าง ประสิทธิภาพของการจัดเก็บรวบรวมข้อมูล ทางภูมิศาสตร์ การปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัย การจัดการประมวลผลข้อมูล รวมทั้งการวิเคราะห์ข้อมูลและการแสดงผลในรูปข้อมูลข่าวสาร แบบเชิงซ้อน พื้นที่ที่อ้างอิงได้ทางภูมิศาสตร์
         ข้อมูลทางภูมิศาสตร์ที่สัมพันธ์กับตำแหน่งบนผิวโลก ครอบคลุมความหมายที่ รวมถึงการกระจัดกระจาย ของทรัพยากรธรรมชาติ ลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดิน ลักษณะการตั้งถิ่นฐาน และการกระจายตัวของประชากร รวมทั้งกิจการสาธารณูปการ เช่น เส้นทางคมนาคม และการขนส่ง เป็นต้น ซึ่งลักษณะข้อมูลทางภูมิศาสตร์ดังกล่าว สามารถแสดงในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ได้ในสองลักษณะคือ

           1. ข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Characteristics) มีลักษณะและรูปแบบคือ รูปแบบของจุด (point) แสดงตำแหน่งและขนาดของจุดนั้นๆ เช่น ที่ตั้งจังหวัด ที่ตั้ง อำเภอเป็นต้น รูปแบบของเส้น (line) ประกอบด้วยลักษณะของเส้นตรง เส้นหักมุม และ เส้นโค้ง ซึ่งรูปร่างและขนาดของเส้นจะอธิบายลักษณะต่างๆ เช่น ถนน แม่น้ำ เป็นต้น รูปแบบพื้นที่ (polygon) เป็นลักษณะขอบเขตพื้นที่ของข้อมูลต่างๆ  เช่น ขอบเขต จังหวัดหรืออำเภอ ขอบเขตพื้นที่เกษตรกรรม ขอบเขตพื้นที่ป่าไม้ เป็นต้น
          2. ข้อมูลเชิงเฉพาะ (Attribute Characteristics) เป็นข้อมูลลักษณะ ประจำตัวหรือลักษณะที่มีความผันแปรตามปรากฏการณ์ธรรมชาติในช่วงระยะเวลาหนึ่งๆ อาจมีลักษณะต่อเนื่องกัน เช่น เส้นชั้นระดับความสูง หรือเป็นลักษณะที่ไม่ต่อเนื่อง เช่น จำนวนประชากรและลักษณะ สิ่งปกคลุมดิน หรือชนิดของ ป่าไม้ เป็นต้น

                                 

วันเสาร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ความแตกต่างของข้อมูลและสารสนเทศ


 ข้อมูล  คือ ข้อเท็จจริง หรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ เช่น คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ ฯลฯ ข้อมูล จึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ของสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีการ รวบรวม ข้อมูลอย่างเป็นระบบ และต่อเนื่อง ดังจะเห็นจาก กระบวนการเลือกตั้ง หลายพรรค การเมือง มีการใช้เทคโนโลยีรวบรวมข้อมูล หาวิธีการที่จะให้ได้ข้อมูลอย่างรวดเร็ว และเมื่อ สถานการณ์หรือเหตุการณ์บางอย่างเกิดผันแปรขึ้น การเตรียมการหรือการแก้สถานการณ์ จะดำเนินการได้อย่างทันท่วงที

 สารสนเทศ  คือ ข้อมูลที่ได้ผ่านกระบวนการประมวลผลแล้ว อาจใช้วิธีง่าย ๆ เช่น หาค่าเฉลี่ย หรือใช้ เทคนิคขั้นสูง เช่นการวิจัยดำเนินงาน เป็นต้น เพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพข้อมูลทั่วไปให้อยู่ในรูปแบบที่มีความสัมพันธ์ หรือ มีความเกี่ยว ข้องกัน เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจหรือตอบปัญหาต่าง ๆ ได้ สารสนเทศ ประกอบด้วยข้อมูล เอกสาร เสียง หรือรูปภาพต่าง ๆ แต่จัดเนื้อเรื่องให้อยู่ในรูปที่มีความหมาย สารสนเทศไม่ใช่จำกัดเฉพาะเพียงตัวเลขเพียงอย่างเดียวเท่านั้น


ข้อมูลและสารสนเทศแตกต่างกันอย่างไร?
 ข้อมูล เป็นส่วนของข้อเท็จจริง ยังไม่ได้ผ่านการตัดสินใจ ส่วนสารสนเทศ จะนำข้อมูลมาผ่านการตัดสินใจ นำไปใช้ทันที

ลักษณะข้อมูลเชิงพื้นที่

                                  ลักษณะข้อมูลเชิงพื้นที่
1.Spatial Distribution   เป็นการกระจัดกระจายตัวหรือการกระจุกตัวที่อยู่ในพื้นที่ อาจจะกระจายตัวเป็นบริเวณกว้างๆ เช่น การกระจายตัวของหอในบริเวณรอบมอซึ่งมีการกระจายตัวมากกว่าเดิมโดยดูจากก่อสร้างซึ่งมีการสร้างหอมากขึ้น และ การกระจายตัวของชุมชน หรืออาจกระจุกตัวในบางพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งจะอยู่ในลักษณะที่กระจุกตัวบางพื้นที่หรือแยกกระจายอาจจะอยู่ใกล้กันหรือไกลกันขึ้นอยู่กับบริเวณพื้นที่ต่างๆความแตกต่างเชิงพื้นที่

2. Spatial Differentiation   ความแตกต่างในเชิงพื้นที่   ในพื้นที่แต่ละพื้นที่จะมีความแตกต่างกันในหลายๆด้านพื้นที่แต่ละส่วนจะไม่เหมือนกันในหลายประการ  โดยพื้นที่แต่ละพื้นที่จะ มีลักษณะเฉพาะทางกายภาพและชีวภาพต่างกัน   อาจเป็นสิ่งแวดล้อม พื้นที่สูง-ตำของแต่ละบริเวณนั่นๆ  ทรัพยากรที่มีความหลากหลายต่างกันตามลักษณะของพื้นที่  เช่น ความแตกต่างทางด้านภูมิประเทศ บริเวณที่เป็นพื้นที่ราบและ บริเวณภูเขา

3. Spatial Diffusion   การแพร่กระจายในเชิงพื้นที่  เป็นการกระจายจากพื้นที่หนึ่งไปอีกพื้นที่หนึ่ง อาจจะเป็นการอพยพย้ายถิ่นฐาน หรือมีการกระจายของสิ่งใดสิ่งหนึ่งแล้วกระจายออกไปตามพื้นที่ต่างๆ เช่น เรือบรรทุกน้ำตาลล่ม จ.พระนครศรีอยุธยา ทำให้น้ำตาลละลายกลายเป็นน้ำเสียทำให้ปลาตายเป็นจำนวนมาก  และแพร่กระจายไปหลายจังหวัด

4. Spatial Interaction   การปฏิสัมพันธ์ในเชิงพื้นที่  เป็นการกระทำร่วมกันของสองสิ่งที่มีความสัมพันธ์สอดคล้องหรือมีกระทำร่วมกัน เช่น บริเวณหอรอบๆมอ จะมีนักศึกษามาอาศัยอยู่

 
5. Spatial Temporal   ช่วงเวลาในเชิงพื้นที่ ช่วงเวลาในแต่ละพื้นที่จะแตกต่างกันออกไปในช่วงของการแบ่งเขตเวลา การกระทำหรือกิจกรรมที่ก็จะต่างกันออกไปตามช่วงเวลาของพื้นที่แต่ละส่วน เช่น การวิเคราะห์การเคลื่อนที่ของรถยนต์ในช่วงเวลาเร่งด่วน เริ่มจากจุดทางลงต่างระดับหรือถนนศรีนครินทร์ทางแยกเข้าหมู่บ้านนักกีฬา โดยทำการเก็บรวบรวมและจดบันทึกข้อมูลเป็นระยะเวลา 1 เดือน