วันเสาร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ลักษณะข้อมูลเชิงพื้นที่

                                  ลักษณะข้อมูลเชิงพื้นที่
1.Spatial Distribution   เป็นการกระจัดกระจายตัวหรือการกระจุกตัวที่อยู่ในพื้นที่ อาจจะกระจายตัวเป็นบริเวณกว้างๆ เช่น การกระจายตัวของหอในบริเวณรอบมอซึ่งมีการกระจายตัวมากกว่าเดิมโดยดูจากก่อสร้างซึ่งมีการสร้างหอมากขึ้น และ การกระจายตัวของชุมชน หรืออาจกระจุกตัวในบางพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งจะอยู่ในลักษณะที่กระจุกตัวบางพื้นที่หรือแยกกระจายอาจจะอยู่ใกล้กันหรือไกลกันขึ้นอยู่กับบริเวณพื้นที่ต่างๆความแตกต่างเชิงพื้นที่

2. Spatial Differentiation   ความแตกต่างในเชิงพื้นที่   ในพื้นที่แต่ละพื้นที่จะมีความแตกต่างกันในหลายๆด้านพื้นที่แต่ละส่วนจะไม่เหมือนกันในหลายประการ  โดยพื้นที่แต่ละพื้นที่จะ มีลักษณะเฉพาะทางกายภาพและชีวภาพต่างกัน   อาจเป็นสิ่งแวดล้อม พื้นที่สูง-ตำของแต่ละบริเวณนั่นๆ  ทรัพยากรที่มีความหลากหลายต่างกันตามลักษณะของพื้นที่  เช่น ความแตกต่างทางด้านภูมิประเทศ บริเวณที่เป็นพื้นที่ราบและ บริเวณภูเขา

3. Spatial Diffusion   การแพร่กระจายในเชิงพื้นที่  เป็นการกระจายจากพื้นที่หนึ่งไปอีกพื้นที่หนึ่ง อาจจะเป็นการอพยพย้ายถิ่นฐาน หรือมีการกระจายของสิ่งใดสิ่งหนึ่งแล้วกระจายออกไปตามพื้นที่ต่างๆ เช่น เรือบรรทุกน้ำตาลล่ม จ.พระนครศรีอยุธยา ทำให้น้ำตาลละลายกลายเป็นน้ำเสียทำให้ปลาตายเป็นจำนวนมาก  และแพร่กระจายไปหลายจังหวัด

4. Spatial Interaction   การปฏิสัมพันธ์ในเชิงพื้นที่  เป็นการกระทำร่วมกันของสองสิ่งที่มีความสัมพันธ์สอดคล้องหรือมีกระทำร่วมกัน เช่น บริเวณหอรอบๆมอ จะมีนักศึกษามาอาศัยอยู่

 
5. Spatial Temporal   ช่วงเวลาในเชิงพื้นที่ ช่วงเวลาในแต่ละพื้นที่จะแตกต่างกันออกไปในช่วงของการแบ่งเขตเวลา การกระทำหรือกิจกรรมที่ก็จะต่างกันออกไปตามช่วงเวลาของพื้นที่แต่ละส่วน เช่น การวิเคราะห์การเคลื่อนที่ของรถยนต์ในช่วงเวลาเร่งด่วน เริ่มจากจุดทางลงต่างระดับหรือถนนศรีนครินทร์ทางแยกเข้าหมู่บ้านนักกีฬา โดยทำการเก็บรวบรวมและจดบันทึกข้อมูลเป็นระยะเวลา 1 เดือน

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น