วันศุกร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2554

 ข้อมูลเชิงพื้นที่(Spatial data)
ข้อมูลเชิงพื้นที่(Spatial data) เป็นข้อมูลที่แสดงตำแหน่งที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ (Geo-reference data) ของรูปลักษณ์ของพื้นที่ (Graphic feature) หรือข้อมูลสภาพเชื่อมโยงกับข้อมูลลักษณะประจำ
ประเภทเชิงพื้นที่ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1)ข้อมูลทิศทางหรือข้อมูลเวคเตอร์(Vector data) มี 3 ลักษณะด้วยกัน คือ
  • จุด (Points) ใช้อ้างอิงถึงตำแหน่งที่ตั้งของสิ่งต่างๆ ในแผนที่ มีที่ตั้งเฉพาะเจาะจงหรือมีเพียงตำแหน่งเดียว เช่น ที่ตั้งหมู่บ้าน โรงเรียน องค์การบริหารส่วนตำบล ประตูควบคุมน้ำ หลักหมุด บ่อน้ำ เสาไฟ อาคาร ตึก สิ่งก่อสร้าง เป็นต้น
  • เส้น (Arc or Lines) เป็นชุดของจุดที่เรียงต่อกัน โดยใช้แทนลักษณะที่เป็นเส้น เช่น ถนน แม่น้ำ คลองชลประทาน แนวสายส่งไฟฟ้า และเส้นชั้นความสูง เป็นต้น
  • เส้นรอบปิด (Area or Polygons) เป็นเส้นรอบรูปปิด ใช้แทนลักษณะที่เป็นขอบเขตหรือพื้นที่ มาตราส่วนแผนที่จะเป็นตัวกำหนดว่าจะแทนปรากฏการณ์บนโลกด้วยพื้นที่หรือไม่ ตัวอย่างรูปแบบพื้นที่ ได้แก่ ขอบเขตการปกครอง(Political boundary) การใช้ประโยชน์ที่ดิน(Land use) ชุดดิน(Soil series) ขอบเขตลุ่มน้ำ(Basin boundary) ขอบเขตพื้นที่จัดรูปที่ดิน/กรรมสิทธิ์ที่ดิน เป็นต้น
·         ข้อมูลแบบเวคเตอร์(Vector data)
·         ที่มา : ESRI

2)ข้อมูลตารางกริดหรือข้อมูลราสเตอร์(Raster data) จัดเก็บข้อมูลเป็นลักษณะตารางสี่เหลี่ยมจัตุรัสเล็กๆ (Grid or Pixel) เท่ากันและต่อเนื่องกัน ซึ่งสามารถอ้างอิงค่าพิกัดทางภูมิศาสตร์ได้ ขนาดของตารางกริดหรือความละเอียด (Resolution) ในการเก็บข้อมูลจะใหญ่หรือเล็กขึ้นอยู่กับการจัดแบ่งจำนวนแถว และจำนวนคอลัมน์ ตัวอย่างข้อมูลที่จัดเก็บโดยใช้ตารางกริด เช่น ภาพทางอากาศ(Airial photo) ภาพดาวเทียม(Satellite Images) เป็นต้น
โครงสร้างข้อมูลแบบราสเตอร์
ที่มา : ESRI

                                                        ข้อมูลแบบราสเตอร์(Raster data)
โครงสร้างของข้อมูลเชิงพื้นที่แบบเวคเตอร์และราสเตอร์
ที่มา : GISTDA
ตัวอย่างข้อมูลเชิงพื้นที่ประเภทราสเตอร์บริเวณคลองระบายน้ำฉุกเฉินลุ่มน้ำปากพนัง ภาพที่ 1-3 รูปถ่ายทางอากาศสี ความละเอียดภาพ 2 X 2 ตร.ม. และภาพที่ 4-5 ภาพถ่ายดาวเทียม LANDSAT-5 ระบบ TM ความละเอียดภาพ 30 X 30 ตร.ม.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น